วันพุธที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2554

ประวัติภูไท


ในพงศาวดารเมืองแถง(แถน) กล่าวถึง การกำเนิดมนุษย์และถิ่นกำเนิดของชาวภูไทว่า เกิดจากเทพสามีภรรยา 5 คู่ ซึ่งเป็นพี่น้องกัน เมื่อหมดอายุบนสวรรค์จึงอธิษฐานจิตเนรมิตน้ำเต้าขึ้นมา เทพทั้ง 5 คู่ ก็เข้าไปอยู่ในน้ำเต้า น้ำเต้าลอยจากสวรรค์มาตกบนภูเขาที่ทุ่งนาเตา ซึ่งอยู่ห่างจากเมืองแถงไปทางตะวันออกเป็นระยะทางเดิน 1 วัน น้ำเต้าได้แตกออก เทพได้กลายเป็นมนุษย์ 5 คู่ ออกมาจากน้ำเต้าทีละคู่ตามลำดับ คือ ข่า แจะ ภูไท ลาวพุงขาว ฮ่อ(จีน) และแกว(ญวน) ซึ่งเป็นต้นกำเนิดของมนุษย์ 5 เผ่าพันธุ์ในเวลาต่อมาคนเหล่านี้ได้แยกย้ายกันตั้งรกรากในพื้นที่ต่าง ๆสำหรับชาวภูไทตั้งบ้านเรือนที่เมืองแถง มีขุนลอคำเป็นหัวหน้า ประชากรของภูไทได้เพิ่มจำนวนถึง 33,000 คนในเวลาต่อมา และขยายตัวไปตั้งรกรากหลายเมือง ขุนบรมราชบุตรของขุนลอคำ ได้เป็นเจ้าเมืองแถงใน พ.ศ. 1274 ขุนลอบุตรของขุนบรมราชาได้มาตั้งเมืองหลวงพระบางใน พ.ศ. 1283จากพงศาวดารเมืองไล กล่าวว่า ชาวภูไท ในดินแดนนี้ 2 พวกคือ
1. ภูไทขาว   อาศัยอยู่เมืองเจียน เมืองมุน เมืองบาง มีเมืองไลเป็นเมืองใหญ่ รวม 4 เมือง ดินแดนแถบนี้อยู่ใกล้ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน อากาศหนาว ชาวภูไทจึงมีผิวขาว อีกทั้งได้รับอารยธรรมจากจีน โดยเฉพาะการแต่งกายในพิธีศพ ซึ่งนิยมนุ่งขาว ห่มขาว จึงเรียกชาวภูไทกลุ่มนี้ว่า ?ภูไทขาว?
2. ภูไทดำ  อาศัยอยู่เมือง ควาย,เมืองคุง เมืองม่วย, เมืองลา เมืองโมะเมืองหวัด เมืองซาง มีเมืองแถง(แถน) เป็นเมืองใหญ่ รวมเป็น 8 เมือง ชาวภูไทกลุ่มนี้มีผิวคล้ำกว่าภูไทตอนบน และนิยมแต่งกายด้วยผ้าพื้นเมืองย้อมครามเข้ม และอาศัยอยู่บริเวณแม่น้ำดำ ซึ่งเป็นแหล่งเกษตรกรรม จึงเรียกว่า ?ภูไทดำ?ชาวภูไททั้ง 2 กลุ่ม รวมกันแล้วเป็น 12 เมือง จึงเรียกว่า แคว้น ?สิบสองจุไทย?เมืองไล เมืองของชาวภูไทขาว ตั้งอยู่ในดินแดนคาบเกี่ยว หรือตะเข็บของลาว จีน และญวน เพื่อความอยู่รอด เมืองนี้จึงจำเป็นต้องอ่อนน้อมแก่ทั้ง 3 ฝ่าย ต้องส่งส่วยแก่ทุกฝ่ายเดิมแคว้นสิบสองจุไทย ขึ้นกับอาณาจักรน่านเจ้า ครั้นต่อมาไปขึ้นอยู่กับอาณาจักรโยนกเชียงแสน เมื่ออาณาจักรโยนกเชียงแสน ถูกพวกภูไทมาทำลายลง สิบสองจุไทยได้ไปขึ้นกับแคว้นหิรัญเงินยวง (ต่อมาแคว้นนี้เป็นเมืองขึ้นของอาณาจักรลานนา)ใน พ.ศ.2250 อาณาจักรล้านช้างได้แตกเป็น 2 อาณาจักร คือทางเหนือ เรียกว่า อาณาจักรล้านช้างร่มขาวหลวงพระบาง ทางใต้ เรียกว่า อาณาจักรล้านช้างร่มขาวเวียงจันทน์ สิบสองจุไทยอยู่ภายใต้การดูแลของอาณาจักรแรกต่อมาบังเกิดการอัตคัดอดอยาก และความขัดแย้งระหว่างท้าวก่า หัวหน้าของชาวภูไท กับเจ้าเมืองนาน้อยอ้อยหนู (น้ำน้อยอ้อยหนู) ท้าวก่าจึงพา ชาวภูไทเป็นจำนวนมาก (ประมาณหมื่นคน) อพยพจากเมืองนาน้อยอ้อยหนูมาขอขึ้นกับเวียงจันทน์ โดยทางเวียงจันทน์ให้ไปตั้งถิ่นฐานที่เมืองวัง (อยู่ทางตะวันออกของเมืองมุกดาหาร ห่างประมาณ 150 กิโลเมตร) ชาวภูไทกลุ่มนี้ ได้ส่งส่วยมีดโต้และขวานให้เวียงจันทน์ ปีละ 500 เล่ม แต่เนื่องจากเมืองวังอยู่ชายแดนอาณาจักรล้านช้างร่มขาวเวียงจันทน์ แต่ใกล้พรมแดนเวียดนาม พวกเขาจึงได้ส่งส่วยขี้ผึ้ง 5 ปึก (ปึกหนึ่งหนัก 5 ชั่ง) ให้แก่ เจ้าเมืองคำรั้วของเวียดนามด้วย

ในประเทศไทยมีชนเผ่ภูไทอาศัยอยู่ 9 จังหวัด

1.จังหวัดสกลนคร 212 หมู่บ้าน 9 อำเภอ(พรรณานิคม เมืองสกลนครวาริชภูมิ พังโคน บ้านม่วง วานรนิวาส กุสุมาลย์ สว่างแดนดิน กุดบาก)
2. จังหวัดนครพนม 131 หมู่บ้าน 5 อำเภอ (นาแก เรณูนคร ธาตุพนม ศรีสงคราม เมืองนครพนม)
3. จังหวัดมุกดาหาร 68 หมู่บ้าน 5 อำเภอ (คำชะอีก เมืองมุกดาหาร นิคมคำสร้อย ดอนตาล หนองสูง)
4. จังหวัดกาฬสินธุ์ 63 หมู่บ้าน 5 อำเภอ (เขาวง กุฉินารายณ์ คำม่วง สมเด็จ สหัสขันธ์)
5. จังหวัดหนองคาย 6 หมู่บ้าน 3 อำเภอ(โซ่พิสัย บึงกาฬ พรเจริญ)
6. จังหวัดอำนาจเจริญ 5 หมู่บ้าน 2 อำเภอ (เสนางคนิคม ขานุมาน)
7. จังหวัดอุดรธานี 5 หมู่บ้าน 2 อำเภอ (วังสามหมอ ศรีธาตุ)
8. จังหวัดยโสธร 3 หมู่บ้าน 1 อำเภอ (เลิงนกทา)
9. จังหวัดร้อยเอ็ด 1 หมู่บ้าน (โพนทอง)

สารพันประเพณีสิบสองเดือน

คำกลอนต่อไปนี้                   ประเพณีสิบสองเดือน
พวกข้าจะได้เตือน                 ผู้ครองเรือนโปรดจำเอา
เดือนอ้ายบุญกุ้มข้าว             เอาขึ้นเล้าพ่อพาทำ
เดือนยี่พระเข้า กรรม              พระทรงธรรมให้ศีลดี
ร่วมฟังพระสงฆ์เทศ               บุญพระเวสร่วมเททาน
เดือนห้าบุญสงกรานต์            สุขสำราญร่วมเฮฮา
เล่นน้ำเล่นกีฬา                       มีชีวาสุขสมใจ
เดือนหกบุญบั้งไฟ                   จุดตะไรไฟหมื่นแสน
เดือนเจ็ดหาฟืนถ่าน                ลงทำนาไถหว่านกล้า
เดือนแปดอฐิษฐาน                 ท่านสมภารเข้าพรรษา
เดือนเก้าเข้าข้าวประดับดิน     แผ่ของกินเพื่อผู้ตาย
เดือนสิบบุญข้าวสาก               แจกฉลากของถวาย
เดือนสิบเอ็ดใจเบิกบาน          ท่านสมภารออกพรรษา  
เดือนสิบสองบุญกฐิน              หูได้ยินก็ยินดี
นี่แหละประเพณี                      สิบสองเดือนขอเตือนไว้      
โปรดจำใส่ดวงใจ                   พี่น้องไทยของเราเอย
                                                                                                 
                                              แหล่งที่มา  จากคุณยายเชิม  เหลือผล

พิธีบายศรี

ผู้เฒ่าผู้แก่จะร่วมวงกันจัดทำพานบายศรี เพื่อใช้ประกอบพิธีในงานบุญกุ้มข้าว งานแต่งงาน ทำขวัญ ของหมู่บ้านจะจัดทำในวันขึ้นสามค่ำเดือนสามของทุกปีเป็นการระลึกถึงพระคุณของพระแม่โพสพ อันเป็นกุศโลบายในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติที่สืบทอดกันมาตั้งแต่บรรพบุรุษ

งานฝีมือของชาวภูไท


คือ มีการทอผ้าไหมเป็นลักษณะเด่นมีลาย สีสัน แตกต่างกันออกไปแล้วแต่ความคิดของแต่ละบุคคลและยังมีการถักไม้กวาดจากดอกแขมที่หาได้ตามภูเขาซึ่งสามารถนำมาใช้ประโยชน์และสามารถนำมาขายเป็นรายได้เสริมได้อีกด้วย

ลักษณะการแต่งตัว


การแต่งกายจะแต่งตัวด้วยชุดภูไทมีลักษณะที่เด่นชัดคือเสื้อเป็นสีดำแถบสีแดง และซิ่นจะต้องเเป็นซิ่นหมี่ต่อตีนแล้วมีผ้าสไบ

สมาชิกในกลุ่ม

1.เด็กชาย  ป่านตะวัน  คำยนต์    เลขที่ 4    ม.2/1
2.เด็กหญิง  กนิษฐา  การผ่อง     เลขที่  6    ม.2/1
3.เด็กหญิง  จรุญา  เหลือผล       เลขที่ 10   ม.2/1
4.เด็กหญิง  ศศิมา  ชินโน          เลขที่ี 25   ม.2/1
5.เด็กหญิง  อรอุมา  สร้อยสา     เลขที่ 32   ม.2/1
6.เด็กหญิง  พัชราภรณ์  ว่องไว  เลขที่ 40    ม.2/1